วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

มาตราตัวสะกด


ตัวสะกด เป็นพยัญชนะที่ใช้บังคับเสียงท้ายคำ หรือ พยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายสระ และมีเสียงประสมเข้ากับสระ มาตราตัวสะกดมีอยู่ 8 แม่ ได้แก่ แม่กง แม่กน แม่กม แม่กก แม่กด แม่กบ แม่เกย และแม่เกอว
มาตราแม่ กก
แม่กก คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ก" เป็นตัวสะกด เช่น
กระจก อ่านว่า กระ - จก พรรค อ่านว่า พัก
มัฆวาน อ่านว่า มัก - คะ - วาน สุนัข อ่านว่า สุ - นัก

มาตราแม่ กน
แม่กน คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "น" เป็นตัวสะกด เช่น
บานชื่น อ่านว่า บาน - ชื่น บริเวณ อ่านว่า บอ - ริ - เวน
ปัญญา อ่านว่า ปัน - ยา จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
เทศบาล อ่านว่า เทด - สะ - บาน พระกาฬ อ่านว่า พระ - กาน

มาตราแม่ กบ

แม่กบ คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "บ" เป็นตัวสะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ ภาพ อ่านว่า พาบ
กราฟ อ่านว่า กร๊าบ มณฑป อ่านว่า มน - ดบ
ลาบ อ่านว่า ลาบ อาภัพ อ่านว่า อา – พับ

มาตราแม่ กด

แม่กด คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือน "ด" เป็นตัวสะกด เช่น
เสร็จ อ่านว่า เส็ด สมเพช อ่านว่า สม - เพด
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด จราจร อ่านว่า จะ - รา - จอน
ประเสริฐ อ่านว่า ประ - เสิด ทายาท อ่านว่า ทา - ยาด

เสียงพยัญชนะท้าย (หรือตัวสะกด) มี 9 มาตรา ได้แก่
1. แม่ ก กา คำที่ไม่มีตัวสะกด
2. แม่ กก (- k) / ก / ได้แก่ ก ข ค ฆ
3. แม่ กด (- t) / ด / ได้แก่ จ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฑ ฒ ช ซ ศ ษ ส
4. แม่ กบ (- p) / บ / ได้แก่ บ ป พ ภ ฟ
5. แม่ กน (- n) / น / ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ
6. แม่ กง (- n) / ง / ได้แก่ ง
7. แม่ กม (- m) / ม / ได้แก่ ม
8. แม่ เกย (- j) / ย / ได้แก่ ย
9. แม่ เกอว (- w) / ว / ได้แก่ ว
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มาตราตัวสะกดตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กก ,2. แม่ กด ,3. แม่ กบ , 4. แม่ กน
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงรูป 4 มาตรา ได้แก่ 1. แม่ กง 2. แม่กม ,3. แม่ เกย ,4. แม่ เกอว
สรุป เสียงพยัญชนะมี 44 รูป 21 เสียง

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

เคล็ดลับสุขภาพดี







เคล็ดลับสุขภาพดี



1. แอปเปิ้ล แตงโม กล้วย กีวีต้องระวังผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้มีประโยชน์มาก แต่ถ้าคุณกำลังทานยาปฏิชีวนะอยู่ ผลไม้พวกนี้จะกลายเป็นโทษทันทีเพราะมันบูดในลำไส้ได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหารได้



2. เพาะย่อยอาหารมื้อหลักที่กำลังจะตามลงมาได้ง่ายขึ้น และหลังจากจบมื้ออร่อยแล้วควรตบท้ายด้วยแอปเปิ้ลสัก 1 ผลไม้กับมื้ออาหารก่อนทานอาหารควรจะเรยีกน้ำย่อยด้วยสับปะรดและมะละกอสัก 2-3 ชิ้น ผลไม้สองชนิดนี้มีเอนไซม์ที่จะช่วยให้กระชิ้นเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลายซึ่งจะทำให้จำนวนแบคทีเรียในช่องปากลดลง และช่วยให้เหงือกแข็งแรงด้วย



3. อย่าปล่อยให้หิวควรจะทานอาหารให้ตรงเวลาทุกวันแม้จะยังไม่รู้สึกหิวก็ตาม เพราะเวลาที่เราหิวร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนควมเครียดออกมา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นประจำก็จะทำให้คุณกลายเป็นสาวเครียด และนำไปสู่อาการความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน



4. เนื้อสัตว์กับผลไม้ไม่เข้ากันถ้าทานน้อยๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามื้อไหนคุณทานเนื้อเป็นจำนวนมากแล้วควรจะงดผลไม้ไป เพราะกว่าเนื้อจะย่อยหมดต้องใช้เวลานาน ส่าวนผลไม้ซึ่งย่อยเร็วจะถูกกักอยู่ในกระเพาะ จึงทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารได้



5. นาฬิกาชีวภาพหลักการสุขภาพดีบอกไว้ว่าเราควรจะเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน แต่ส่วนใหญ่พอถึงคืนวันศุกร์กับวันเสาร์เรามักจะนอนดึกเพราะถือว่าเป็นวันหยุด การทำอย่างนี้จะทำให้ความเคยชินหรือที่เรียกว่าชีวภาพของร่างกายรวรเร จึงไม่ต้องแปลกใจเลยที่วันจันทร์เราจะง่วงนอนกว่าปกติ

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว












ชื่อ วราภรณ์ จิตตะวิกุล


อายุ 20 ปี


ชื่อเล่น หญิง


เรียน คณะครุศาสตร์ โปรแกรม ภาษาไทย


มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์


งานอดิเรก ฟังเพลง อ่านหนังสือ


สีที่ชอบ สีชมพูและสีแดง